สั่งของจากจีน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคของผู้คน
ทำให้หลายธุรกิจต้องปรับตัวและปรับเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจ เพื่อตอบสนองวิถีชีวิตใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน
คือ การช็อปปิ้งออนไลน์
แพล็ตฟอร์มช็อปปิ้งออนไลน์ในจีนนั้นมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดเรื่อยมา แต่ในช่วงโควิด-19 ชาวจีนได้เข้าสู่การใช้ชีวิตแบบดิจิทัลแทบจะเต็มตัว ทั้งแบรนด์เล็กและแบรนด์ดังต่างหันมาใช้ช่องทางออนไลน์ในการขายสินค้ามากขึ้น
วันนี้ Truetaobao จึงได้รวบรวมสถานการณ์และแนวโน้มหลังจบโควิด-19 จาก Yiling Pan ผู้จัดการบรรณาธิการของ Vogue Business ประจำประเทศจีนมาฝาก มาดูกันว่าช่วงระหว่างและหลังเหตุการณ์ Lockdown แล้วจะเป็นอย่างไรบ้าง
1. ทุกอย่างกลายเป็นดิจิทัล
หลังจากที่ประเทศจีนประกาศ Lockdown แบบเต็มตัว ผู้คนต่างต้องกักตัวอยู่บ้านกันอย่างจริงจัง ซึ่งกลายเป็นสถานการณ์บังคับให้หันมาใช้ชีวิตแบบดิจิทัลมากขึ้น จากการสำรวจข้อมูลของจีนพบว่า คนจีนมีการใช้มือถือในช่วงกักตัวเฉลี่ยวันละ 6 ชั่งโมง/วัน ซึ่ง 90% เป็นการดู Video Content แบบ Live Streaming
สำหรับการทำงานแบบ Work from Home คนจีนได้มีการปรับใช้เครื่องมือออนไลน์ใหม่ๆ อาทิ Zoom หรือ Tools ของ Alibaba อย่าง DingTalk นอกจากนี้ 80% ของคนจีนยังคงออกกำลังกายโดยหันไปใช้ Fitness App มากขึ้น ซึ่ง App ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ Keep Fitness App อีกทั้ง 70% ของคนจีนยังหันมาเล่นเกมส์ในมือถือระหว่างกักตัวอยู่บ้าน โดยเกมสุดฮิต ได้แก่ Honor of Kings เกมจากบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Tencent นั่นเอง
2. Live streaming พุ่งสูงขึ้น
การ Live streaming ในจีนช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมานั้น มีกลุ่มผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่ม แต่ในช่วงที่โควิด-19 ระบาด ทำให้กลุ่มคนทั่วไปหันมาใช้ Live Streaming มากขึ้น ถือเป็นเทรนด์ที่มีแนวโน้มสูงมากที่จะยังอยู่ต่อหลังโควิด-19 จบลง รวมไปถึงแบรนด์ดังที่หันมา Live Streaming ผ่านแพล็ตฟอร์ม E-commerce กันมากขึ้น อาทิ Louis Vuitton ที่ร่วมมือกับเว็บ Little Red Book ที่เป็น Social Commerce Platform ของจีนในการจัดไลฟ์สดขายของเป็นครั้งแรกและมีการจัดแฟชันโชว์บน WeChat ที่บันทึก Live แล้วสามารถกลับมาดูซ้ำได้ ส่วนแบรนด์ Burberry ก็ได้จัดไลฟ์สดกับแพล็ตฟอร์มของ Taobao ซึ่งมีผู้เข้าชมกว่า 1.4 ล้านวิว อีกทั้งแบรนด์ดังอย่าง Prada และ Miu Miu ก็มีการไลฟ์สดผ่านช่องทางของ Tmall ด้วยเช่นกัน
3. จากหน้าร้านสู่ร้านค้าออนไลน์
หลังจากที่ผู้คนต้องกักตัวนานหลายสัปดาห์ จึงทำให้เริ่มคุ้นชินกับการทำกิจกรรมต่างๆ บนช่องทางออนไลน์ ร้านค้าต่างๆ รวมถึงแบรนด์ดังได้หันมาให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างมุมมองการช็อปปิ้งแบบ 360 องศาที่สามารถมองเห็นร้านค้าได้ทั้งร้านและสามารถคลิกอ่านข้อมูลสินค้าได้ทันที นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดสดแฟชั่นโชว์ผ่านระบบ VR (Virtual Reality ) ที่ผู้เข้าชมสามารถสั่งซื้อสินค้าได้เสมือนจริง โดยสามารถพูดคุยสอบถามกับพนักงานผ่าน Wechat ขณะชมแฟชันโชว์ได้ นอกจากนี้ยังมีการสร้างกระแสความนิยมผ่าน Influencers อีกด้วย
4. ร้านค้าต้องสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า
สถานการณ์โควิด-19 ระบาดในจีน ที่เริ่มคลี่คลายตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม ทำให้ร้านค้าต่างๆ เริ่มทยอยกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง สินค้าที่ขายดี ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ความงามและสินค้าหมวด Fitness แต่ถึงอย่างนั้น ผู้คนยังชะลอตัวที่จะกลับไปใช้บริการร้านค้าแบบเดิม เนื่องจากต้องการความมั่นใจและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงติดเชื้อที่อาจมีการกลับมาติดซ้ำได้ทุกเมื่อ ทำให้ร้านค้าต่างๆ ยังคงคุมเข้มในเรื่องการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย รวมทั้งเก็บข้อมูลการติดต่อเอาไว้ มีการแจกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือแก่ลูกค้า นอกเหนือจากนี้ บางร้านยังมีการขอดูบาร์โค้ดจาก WeChat หรือ Alipay ของลูกค้าย้อนหลัง 14 วัน เพื่อตรวจสอบการเดินบัญชีว่ามีใช้จ่ายที่ต่างประเทศมาหรือไม่
อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจของชาวจีนยังพบว่าแม้หลังจบโควิด-19 ช่องทางออนไลน์อย่างเว็บไซต์ของแบรนด์ และ E-commerce ยังคงสูงกว่าหน้าร้านแบบ Offline อ่านต่อได้ที่ ตัวเต็งบนตลาด E-Commerce สำหรับในไทยบ้านเราเองก็มีการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นเช่นกัน ทั้งการซื้อสินค้าออนไลน์ในประเทศและต่างประเทศอย่างการนำเข้าสินค้าจากจีนผ่านชิปปิ้งหรือผ่านเว็บไซต์ที่ให้บริการสั่งของจากจีน อย่าง Truetaobao ที่ยังให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทยแบบเบ็ดเสร็จ จึงทำให้การนำเข้าสินค้านั้นเป็นเรื่องง่าย สะดวกสบายและมีราคาไม่แพง ทั้งนี้ในไทยเองยังคงต้องจับตามองและคาดการณ์แนวโน้มต่างๆ จากกรณีศึกษาของจีน เพื่อวางแผนรับมือกับเทรนด์เศรษฐกิจใหม่ๆ ต่อไป
เรียบเรียงข้อมูลจาก : www.everydaymarketing.co