เว็บสั่งของจากจีน 3 คู่แข่งตัวเต็งของ Alibaba บนตลาด E-Commerce

เว็บสั่งของจากจีน 3 คู่แข่งตัวเต็งของ Alibaba บนตลาด E-Commerce-Truetaobao เว็บสั่งของจากจีน เว็บสั่งของจากจีน 3 คู่แข่งตัวเต็งของ Alibaba บนตลาด E-Commerce 3                                                     Alibaba                    E Commerce Truetaobao 768x402

เว็บสั่งของจากจีน Alibaba Group เป็นบริษัท E-Commerce ของจีน ก่อตั้งขึ้นในปี 1999 มีสำนักงานใหญ่ในมลฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน

รูปแบบ E-Commerce ของ Alibaba เป็นเหมือนตัวกลางที่ให้ผู้ใช้บริการสามารถซื้อและขายสินค้าบนแพลตฟอร์มของตนเองได้

คล้ายกับโมเดลธุรกิจของ eBay 

         Alibaba มี 3 ธุรกิจหลัก คือ แพลตฟอร์ม E-Commerce แบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) แพลตฟอร์มแบบธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) และแพลตฟอร์มผู้บริโภคสู่ผู้บริโภค (C2C)

          Alibaba สร้างรายได้ส่วนใหญ่จากค่าคอมมิชชั่นการขาย บริการสต็อกสินค้าออนไลน์ ค่าธรรมเนียมการโฆษณาและค่าธรรมเนียมบริการอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีรายรับจากแพลตฟอร์มการชำระเงินออนไลน์ Alipay และ Aliyun ธุรกิจด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) รวมทั้งธุรกิจ E-Commerce และเว็บไซต์อื่นๆ โดย Alibaba ได้รายงานรายได้ในปีงบการเงินซึ่งสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2562 ที่สูงถึง 56.12 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 51% เมื่อเทียบเป็นรายปีและมีผู้บริโภครายปีในตลาดค้าปลีกของจีนกว่า 654 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 102 ล้านคน จากช่วง 12 เดือนโดยสิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2561

          ในปี 2553 Alibaba ได้เปิดตัว AliExpress ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนที่ขับเคลื่อนธุรกิจเข้าสู่เวทีโลกและทำให้ AliExpress เป็นคู่แข่งสำคัญนอกประเทศจีนจนกลายเป็นตลาด E-Commerce ชั้นนำในรัสเซียและบราซิล  ต่อมาในปี พ. ศ. 2562 Alibaba ได้เน้นการขยายตลาดในยุโรป โดยเริ่มจากในสเปน อิตาลี และตุรกี Alibaba ยังเปิดร้านค้าแบบมีหน้าร้านแห่งแรกในเมืองมาดริด ประเทศสเปน เมื่อเดือนสิงหาคม 2562 ปัจจุบัน คู่แข่งสำคัญของ Alibaba หลักๆ มีอยู่ 3 ราย ดังนี้

  • Amazon

           ในขณะที่ Alibaba ครอบครองบริการ E-Commerce และคลาวด์คอมพิวติ้งในจีน คู่แข่งสำคัญอย่าง Amazon ที่ครองอุตสาหกรรมเหล่านี้ในตลาดทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการดำเนินงานของ Alibaba ได้ขยายไปทั่วโลกแล้ว Amazon จึงพยายามลดค่าธรรมเนียมให้กับผู้ขายของบนแพลตฟอร์มของตนเพื่อดึงดูดผู้ขายรายใหม่ 

           กลยุทธ์ของ Alibaba ในการรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ซื้อในต่างประเทศมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปในอนาคต โดยเป้าหมายของ Alibaba คือ การมีนักช็อปประจำปีมากกว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วโลกภายในสิ้นปีงบประมาณ 2567 นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้ร้านค้าต่างประเทศขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม AliExpress ได้เพื่อเพิ่มแรงกดดันให้กับ Amazon โดยที่ก่อนหน้านี้เปิดให้เฉพาะกับผู้ขายชาวจีนที่ต้องการเข้าถึงตลาดค้าปลีกทั่วโลกเท่านั้น

           นอกเหนือจากแพลตฟอร์ม B2C ที่รู้จักกันดีของ Amazon แล้ว ยังได้เปิดตัว Amazon Business แพลตฟอร์มธุรกิจ B2B ในปี 2558 อีกด้วย โดยสามารถซื้อและขายกันได้และสามารถเข้าถึงได้ทุกอย่างตั้งแต่อุปกรณ์ไอที อุปกรณ์ในห้องทดลอง ไปจนถึงอุปกรณ์การศึกษาและบริการด้านอาหาร ลูกค้า Amazon ทั้งหมดสามารถดูตัวเลือกเฉพาะธุรกิจและกำหนดราคาได้ ในขณะที่ตลาด B2B อื่นๆ อีกมากมายใช้รูปแบบเดียวกับ Amazon Business 

           ปัจจุบัน Amazon ได้รับประโยชน์จากการใช้ชื่อแบรนด์และประสบความสำเร็จในการลงทุนเชิงพาณิชย์อื่นๆ ที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ ยังสามารถเจาะตลาดเอเชียได้สำเร็จ แต่กลับต้องเผชิญกับความพ่ายแพ้ในประเทศจีนที่ต้องปิดตัว Amazon China ลงในปี 2019 แม้ว่าจะมีประวัติยาวนานถึง 15 ปี อย่างไรก็ตาม ผู้ซื้อออนไลน์ในจีนยังคงสามารถซื้อสินค้าจากร้านค้าทั่วโลกบน Amazon ได้ 3 สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนบุกตลาดออนไลน์จีน

  • JD.com

          JD.com ก่อตั้งขึ้นในปี 2004 เป็นหนึ่งในคู่แข่งหลักในประเทศของ Alibaba ซึ่งทั้ง Alibaba และ JD.com เป็นบริษัท E-Commerce ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ในเดือนพฤษภาคม 2019 ยอดขายรวมของ  Alibaba ในประเทศจีนคิดเป็น 55.9% ส่วน JD.com คิดเป็น 16.7% ตามรายงานของ eMarketer

          JD.com เป็นผู้ค้าปลีกโดยตรง ที่ใช้รูปแบบคล้ายกับ Amazon ตรงกันข้ามกับรูปแบบ E-Commerce ของ Alibaba ซึ่งคลังสินค้า ตลาดและการจัดส่งสินค้าของ JD.com จะส่งตรงไปยังผู้บริโภคชาวจีนผ่านเครือข่ายการขนส่งแห่งชาติ

          Alibaba และ JD.com มีรูปแบบธุรกิจที่แตกต่างกันมาก ด้วยการควบคุมโดยตรงในห่วงโซ่อุปทาน JD.com ได้พัฒนาชื่อเสียงสำหรับผลิตภัณฑ์ของแท้และการจัดส่งที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ ในทางกลับกัน Alibaba ได้ต่อสู้กับสินค้าลอกเลียนแบบมานาน ในหมู่ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเจ้าของแบรนด์เอง

  • คู่แข่งในประเทศอื่น ๆ

           นอกเหนือจาก JD.com แล้ว Alibaba ยังต้องเผชิญกับคู่แข่งในประเทศที่มีขนาดเล็กกว่าแต่เติบโตอย่างก้าวกระโดดและมีส่วนแบ่งตลาดถึง 7.3% ในปี 2019 อย่าง Pinduoduo เว็บไซต์ E-Commerce จีน ซึ่งเหมาะสำหรับร้านค้าขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถจ่ายค่าธรรมเนียมการตลาดบน Alibabaได้  อีกทั้งยังประสบความสำเร็จในการเข้าถึงผู้บริโภคในตลาดจีนขนาดเล็กและชนบทได้เป็นอย่างมาก

           อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณ 2019 Alibaba มีผู้ซื้อที่ใช้งานบนแพลตฟอร์มถึง 654 ล้านคน Pinduoduo อยู่ที่ 443.3 ล้านคนและ JD.com มีจำนวน 310.5 ล้านคน ส่วน Amazon มีผู้ซื้อในตลาด 300 ล้านคน

           เมื่อเร็ว ๆ นี้ Alibaba ยังได้เปิดตัวสาขาบริการทางการเงินดิจิตอล โดยนำเสนอสินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อผู้บริโภคและให้ชำระเงินผ่านมือถืออย่าง Alipay แพลตฟอร์มการชำระเงินออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศจีนโดย Ant Financial บริษัทในเครือของ Alibaba ที่สำคัญ ยังให้บริการ Alipay สำหรับธุรกิจค้าปลีกในต่างประเทศอีกด้วย

            ดังนั้น จะเห็นได้ว่า จีนยังคงเป็นตลาดค้าปลีกออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งใหญ่กว่าตลาดค้าปลีกออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากประชากรชนชั้นกลางของจีนเติบโตขึ้นและมีความต้องการแบรนด์ต่างประเทศมากขึ้น ซึ่ง Alibaba ให้ความสำคัญในการแนะนำแบรนด์ต่างประเทศเข้ามาในจีน ขณะเดียวกันก็มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในการแสวงหาการเติบโตในระดับสากลมากขึ้นด้วย 

             โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่คนนิยมสั่งซื้อสินค้าออนไลน์บนเว็บสั่งของจากจีนอย่าง Taobao Tmall และ 1688 ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม E-Commerce ในเครือ Alibaba ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าจากจีนผ่านบริษัทชิปปิ้งเติบโตขึ้นตามไปด้วย รวมไปถึงเว็บสั่งของจากจีนที่ให้บริการเป็นภาษาไทยอย่าง Truetaobao สามารถให้บริการลูกค้าชาวไทยได้สะดวกยิ่งขึ้น พร้อมนำเข้าครบวงจร ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเติบโตมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม  

ที่มา: investopedia